NCD โรคพฤติกรรม “เสี่ยงตาย แต่ป้องกันได้” โรค NCD หรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่นับวันจะมีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้น ในด้านสาธารณสุขหรือระบบสุขภาพ ของประเทศ พบว่า คนไทยเป็นโรค NCD ประมาณ 14 ล้านคน เสียชีวิตปีละเกือบ 300,000 คน และสถานการณ์มีแนวโน้ม เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ภาครัฐต้องเสียงบประมาณในการรักษาพยาบาล
ผู้ป่วยจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 5 โรค ได้แก่ 1.โรคหัวใจและหลอดเลือด 2.โรคเบาหวาน 3.โรคความดันโลหิตสูง 4.โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 5.โรคมะเร็ง มากถึง 335,359 ล้านบาท/ปี ส่งผล ต่อเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศ จากการที่ประชากรต้องเสียชีวิตก่อนวัยอันควร
จากข้อมูลการสำรวจสุขภาพและ พฤติกรรมเสี่ยงของคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ในปี 2552 พบว่า ประชากรไทยเกือบ 1 ใน 3 มีภาวะน้ำหนักเกิน เป็นโรคอ้วน 8.5% โดยเพศชายมีสัดส่วนผู้ที่เป็นโรคอ้วน เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสถิติการป่วย และเสียชีวิตจากกลุ่มโรค NCD จะสูงมาก แต่กลุ่มโรค NCD เป็นโรคที่สามารถ ป้องกันได้ เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงหลัก เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงของบุคคล ซึ่ง หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ จะลด โอกาสเสี่ยงในการเป็นโรค NCD ได้มากถึง 80% ลดโอกาสการเป็นโรคมะเร็งได้ 40% โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ และ โรคเบาหวาน ได้ถึง 80%
โรคร้ายยังคงอยู่เพราะ 5 เรื่องที่รู้- แค่ได้ดู ไม่เปลี่ยนพฤติกรรม*
1. สูบบุหรี่ : ยิ่งสูบยิ่งเสี่ยง การสูบบุหรี่ 1-5 มวนต่อวัน เสี่ยงต่อการเกิดโรค หลอดเลือดหัวใจตีบตัน อย่างน้อย 1.5 เท่า
2. รับประทานอาหาร หวาน มัน เค็ม : เป็นการบริโภคที่ไม่เหมาะสม รวมทั้ง การรับประทานมากเกินไป ร่างกายจะเปลี่ยน เป็นไขมันสะสมตามส่วนต่างๆ
3. ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ : คนไทย ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นอันดับที่ 40 ของโลก โดยเฉพาะเหล้ากลั่น ดื่มมาก เป็นอันดับ 5 ของโลก โดยมีปริมาณ 13.59 ลิตร/คน/ปี
4. ความเครียด : ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันลดลง และความเครียดจากภาวะซึมเศร้าเป็นปัจจัย เสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
5. ขาดการออกกำลังกาย : จากการ สำรวจปี 2553 จากประชากร 47.7 ล้านคน พบว่า 65.7% ของประชากร ออกกำลังกายไม่เพียงพอ* ข้อมูลจาก แนวทางลดเสี่ยง เลี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง , สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค
งานวิจัยเติมเต็มความรู้-หนุนสร้าง แรงจูงใจเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
“งานวิจัยเรื่องการประเมินการใช้เทคนิค การสร้างแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สุขภาพในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เขตสุขภาพที่ 2” หนึ่งในงานวิจัยของสถาบัน วิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ที่ให้ความ สำคัญกับการลดอัตราผู้ป่วยและผู้เสียชีวิต จากโรค NCD ตั้งแต่ต้นทางและการสร้าง พฤติกรรมที่ยั่งยืน โดยประเมินการใช้เทคนิค การสร้างแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในพื้นที่ เขตสุขภาพที่ 2 เพื่อใช้เป็นแนวทางในการ พัฒนาสมรรถนะการใช้เทคนิคการสร้าง แรงจูงใจฯ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
**พื้นที่เขตสุขภาพที่ 2 ประกอบด้วย อุตรดิตถ์ พิษณุโลก ตาก สุโขทัย เพชรบูรณ์ และมีหน่วยบริการสุขภาพ 3 ระดับคือ โรงพยาบาลศูนย์หรือโรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบล
เทคนิค MI สร้างแรงจูงใจเปลี่ยนพฤติกรรม
การใช้เทคนิค MI (Motivational Interviewing) หรือเรียกว่าเทคนิค การสร้างแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมสุขภาพ เป็นเทคนิคการสนทนา สร้างแรงจูงใจ (Motivational Interviewing) คิดค้นโดย Miller & Rollick เพื่อใช้ ในการบำบัดผู้ดื่มสุรา โดยเน้นการสร้าง แรงจูงใจเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มี หลักการสำคัญคือ
1. การสร้างความร่วมมือมากกว่า การเผชิญหน้าหรือเป็นคนละพวก
2. การดึงความต้องการและความตั้งใจ มาจากผู้รับการปรึกษามากกว่าการแนะนำ สั่งสอน
3. การสร้างความรู้สึกถึงความเป็นไปได้ และทำได้ด้วยตนเอง มากกว่าการเชื่อฟัง และทำตาม
โดยใช้ MI ในกลุ่มเสี่ยง จะช่วยป้องกัน หรือลดอัตราการป่วยใหม่จากโรคไม่ติดต่อ เรื้อรัง และช่วยให้ควบคุมการดำเนินของโรค และลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ โดยผลลัพธ์การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในกลุ่มเสี่ยงดีกว่ากลุ่มป่วย และในโรค ความดันโลหิตสูงดีกว่าโรคเบาหวาน
ปัญหา-อุปสรรค-การสนับสนุน ปัญหาการใช้เทคนิค MI ประกอบด้วย 1) บุคลากรไม่เพียงพอกับปริมาณภาระงาน 62.9% 2) บุคลากรขาดทักษะการใช้ เทคนิค MI 56.1% 3) ผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือ ในการใช้เทคนิค MI 46.1% 4) ไม่มีงบประมาณ ดำเนินการ 40.9% 5) ผู้บริหารไม่เห็นความสำคัญในการใช้เทคนิค MI 14.3%
ความต้องการการสนับสนุน1) สนับสนุนบุคลากรที่ปฏิบัติงาน รับผิดชอบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 66.3% 2) งบประมาณดำเนินการ 58.5% 3) นโยบายสนับสนุนการดำเนินงาน 44.0%
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย สู่การพัฒนา ระบบสุขภาพ
ผู้บริหารเขตสุขภาพที่ 2 ควรให้ การสนับสนุนการพัฒนาระบบการใช้เทคนิค MIในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ดังนี้
1. กำหนดเป็นนโยบายหลัก พร้อมกำหนด ตัวชี้วัดในการติดตามและประเมินผล อย่างชัดเจน 2. กำหนดรูปแบบการใช้เทคนิค MI ที่ชัดเจน โดยให้บุคลากรระดับปฏิบัติ มีส่วนร่วมในการออกแบบและกำหนด รูปแบบการดำเนินงาน เพื่อให้สอดคล้อง กับบริบทของแต่ละหน่วยบริการสุขภาพ 3. ควรมีการพัฒนาทักษะการใช้ MI และจัดทำคู่มือสำหรับใช้ในการดำเนินงาน โดยออกแบบระบบและเครื่องมือต่างๆ ที่มุ่งเน้นความเรียบง่ายและไม่เพิ่มภาระงานให้กับผู้ปฏิบัติ 4. สนับสนุนทีมพี่เลี้ยงที่มีความเชี่ยวชาญในการใช้ MI เพื่อให้คำปรึกษากับผู้ปฏิบัติในพื้นที่ 5. สนับสนุนบุคลากร อาทิ การสร้างแรงจูงใจแก่ผู้ปฏิบัติงาน สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงาน ทั้งนี้เป็นไปตามความเหมาะสมหรือความเป็นไปได้ในระดับการบริหารจัดการเขตสุขภาพ
ทั้งนี้เขตสุขภาพในพื้นที่อื่นๆ สามารถนำข้อมูลจากงานวิจัยไปปรับใช้กับการดำเนินการป้องกันและดูแลผู้ป่วยโรค ไม่ติดต่อเรื้อรัง เพื่อให้เกิดการพัฒนาระบบสุขภาพที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
เอกสารอ้างอิง
1) งานวิจัยการประเมินการใช้ เทคนิคการสร้างแรงจูงใจในการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในผู้ป่วย โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เขตสุขภาพที่ 2, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
2) แนวทางลดเสี่ยง เลี่ยงโรค ไม่ติดต่อเรื้อรัง, สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค