วันที่ 18 มกราคม 2562 ตำบลโนนนาจานและตำบลภูแล่นช้าง ได้มีโอกาสต้อนรับคณะกรรมการการประเมินติดตาม ชุมชนรอบรู้ด้านสุขภาพ จาก สสจ.กาฬสินธุ์และเขตสุขภาพที่ 7 ซึ่งทีมประเมินนำโดย คุณธนเดช อัยวรรณ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ จาก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ พร้อมกับตัวแทนคณาจารย์จากเขตสุขภาพที่ 7 โดยท่านสาธารณสุขอำเภอนาคู พร้อมทีมงานผู้รับผิดชอบในพื้นที่ ให้การต้อนรับและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งทางพื้นที่ได้รับคำแนะนำที่มีประโยชน์ แถมได้รับแนวคิดที่จะนำไปต่อยอด เพื่อประโยชน์สูงสุดในการดูแลสุขภาพของประชาชนต่อไป
จากสถานการณ์ปัญหาสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ของประชาชนไทย ที่มีแนวโน้ม เพิ่มขึ้น ขณะที่หน่วยงานต่าง ๆ พยายามให้ข้อมูลและพัฒนามาตรการต่าง ๆ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สุขภาพ ทำให้ความสามารถของประชาชนในการนำข้อมูลด้านสุขภาพมาใช้ในการตัดสินใจเลือกใช้บริการสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ จึงเป็นสิ่งจำเป็นและต้องมีการปฏิรูปเพื่อให้ประชาชนสามารถนำข้อมูลด้านสุขภาพต่าง ๆ ไปใช้จนเกิดประโยชน์สูงสุด
ความสามารถข้างต้น เรียกว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) ความรอบรู้ด้านสุขภาพ คือ ระดับความสามารถของบุคคลที่เกิดจากกระบวนการทำความเข้าใจข้อมูล สุขภาพขั้นพื้นฐานและบริการที่จำเป็น สำหรับประกอบการตัดสินใจเพื่อดูแลสุขภาพของตนเองและคนใน ครอบครัว
สำหรับประเทศไทย ความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) หมายถึง ระดับความรอบรู้และ ความสามารถของบุคคลในการกลั่นกรอง ประเมิน (ข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้รับจากทุกช่องทาง) และตัดสินใจ (จากข้อมูลที่ผ่านการกลั่นกรองและประเมินแล้ว) ที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เลือกใช้บริการและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ได้อย่างเหมาะสม เพื่อยกระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนในระดับประเทศ จึงมีข้อเสนอในการปฏิรูปความ รอบรู้ด้านสุขภาพ 5 ด้าน ได้แก่
1) ระบบสื่อสารสุขภาพที่ต้องมีความถูกต้อง แม่นยำ มีความน่าเชื่อถือ จะต้องส่งผลให้เกิดความ ตระหนัก สนใจ และกระตุ้นให้เกิดเรียนรู้จนเข้าใจ นำไปปฏิบัติได้ ในระดับปัจเจกบุคคลและสังคมโดยรวม หรือเป็นแรงเสริมสนับสนุนให้คนในสังคมที่มีข้อจำกัดในการค้นหาและเรียนรู้ข้อมูลสุขภาพได้ด้วยตนเอง สามารถนำไปปฏิบัติเพื่อการพัฒนาวิถีชีวิตสุขภาพที่ดีให้กับตนเองได้
2) ปฏิรูป 3 ระบบใหญ่: ระบบการสาธารณสุข ให้มีองค์กรที่สร้างและใช้ข้อมูลที่เชื่อถือได้ ระบบ การศึกษา เป็นสถานศึกษารอบรู้ด้านสุขภาพ ที่จะช่วยยกระดับการรู้หนังสือนำไปสู่การปรับวิธีการสอนและ หลักสูตร ด้วยกระบวนการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ระบบวัฒนธรรมและสังคม โดยกำหนดให้การ พัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชน อยู่ในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี อยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ และแผนพัฒนาด้านสาธารณสุข
3) การศึกษาวิจัยเชิงประเมิน โดยดำเนินการการสำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนไทยทุก ๓ หรือ ๕ ปี เพื่อกำกับติดตาม สะท้อนภาพความก้าวหน้าและความสำเร็จในการทำงานด้านความรอบรู้ สุขภาพของทุกหน่วยงาน และยังให้มีการเปรียบเทียบข้อมูลระดับประเทศ นานาชาติ และเพิ่มการลงทุนใน การวิจัยการทำงานที่เรียกว่า Implementation science research เป็นวิธีการทำงานด้วยฐานข้อมูลเชิง ประจักษ์ในการทำงาน (Evidence Based Practice)
4) กำลังคนด้านสุขภาพ บุคลากรวิชาชีพสุขภาพมีความรู้ และทักษะด้านอื่น นอกเหนือไปจากความรู้ ด้านสุขภาพ เช่น การใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ การสนับสนุนทางสังคม ทักษะการสื่อสารเพื่อเสริมสร้าง ความรู้ ความเข้าใจที่จำเป็น
5) 3 กลไกทางกฎหมาย: กฎระเบียบ แนวทางปฏิบัติที่ส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ กลไกทาง การเงินและงบประมาณ และกลไกองค์กรกลางที่ทำหน้าที่ประสานความร่วมมือแบบเกื้อหนุนกัน(synergy)