เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์หลังการได้รับวัคซีน (Adverse Event Following Immunization)
เป็นเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นหลังการได้รับวัคซีน ซึ่งอาจจะเป็นปฏิกิริยาอันไม่พึงประสงค์จากวัคซีน
(Adverse reaction) หรือไม่เกี่ยวข้องกับวัคซีน เช่น เกิดจากความวิตกกังวลของผู้รับบริการวัคซีน หรือภาวะร่วม
อื่น ๆ ที่เกิดในช่วงเวลาเดียวกัน เพื่อการสื่อสารกับบุคลากรทางการแพทย์และประชาชน จึงมีความจำเป็นต้องให้
คำนิยามปฏิกิริยาอันไม่พึงประสงค์หลังฉีดวัคซีน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มอาการ ดังต่อไปนี้
-
อาการข้างเคียงหรือผลข้างเคียง (Side effects) หมายถึง อาการที่คาดเดาได้ว่าอาจจะเกิดขึ้นได้จาก
การได้รับวัคซีน ซึ่งมีรายงานมากกว่าหนึ่งในสามของผู้ที่ได้รับวัคซีน เช่น ปวด บวม ร้อนบริเวณที่ฉีด และอาการ
ตามระบบอื่น ๆ เช่น ไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดเมื่อย ใจสั่น หมดแรง อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน มึนงง และเวียน
ศีรษะ โดยอาการเหล่านี้ จะเกิดเพียง 1–2 วันหลังได้รับวัคซีน มักเป็นไม่รุนแรง แต่บางรายอาจจะมีอาการมาก
เช่น ไข้สูงและ/หรือหนาวสั่น จนต้องพักหรือไม่สามารถปฏิบัติชีวิตประจำวันได้ ต้องกินยาแก้ปวดลดไข้ นอนพัก
หรืออาจต้องไปพบแพทย์ ผู้ที่มีอาการข้างเคียงเหล่านี้ สามารถให้ฉีดวัคซีนเข็มต่อไปได้
การรักษาอาการข้างเคียง ให้รักษาตามอาการเท่าที่จำเป็น รายที่มีอาการผิดปกติอื่น ๆ ควรหาสาเหตุอื่น
ที่เป็นไปได้ ซึ่งอาจจะเกิดในช่วงเวลาใกล้เคียงกับที่ได้รับวัคซีน เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลวหลายครั้ง อาจเกิด
จากการกินอาหารที่ปนเปื้อน เกิดอาหารเป็นพิษหรือติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ควรพิจารณาตรวจอุจจาระ
เพื่อหาสาเหตุ เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง หลังจากได้รับวัคซีน อาจเกิดอาการข้างเคียงที่ไป
กระตุ้นโรคเดิมให้มีอาการมากขึ้นได้ จึงจำเป็นต้องประเมินผู้ป่วยเหล่านี้ก่อนที่จะให้วัคซีน ว่ามีอาการคงที่และ
สามารถทนต่ออาการข้างเคียงจากวัคซีนได้ -
การแพ้วัคซีนหรือส่วนประกอบของวัคซีน (Hypersensitivity reaction) หมายถึง ปฏิกิริยาการแพ้
วัคซีน ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการแพ้หลากหลาย แต่การแพ้วัคซีนแบบรุนแรงที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงมากที่สุด คือ
อาการแพ้รุนแรงชนิดแอนาฟิแล็กซิส (Anaphylaxis) ซึ่งมักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายใน 30 นาทีหลังได้รับวัคซีนซึ่งเป็นข้อห้ามในการรับวัคซีนชนิดเดิมในครั้งต่อไป
ซึ่งรายละเอียดเพิ่มเติม ทุกท่านสามารถดาวโหลดได้ตามลิงค์นี้ครับ >>>> Download
บทความที่น่า่สนใจ:
วาระการประชุม สสจ.เดือน พฤษภาคม 2564
เมื่อลูกชายเป็น ‘วัยรุ่น’ แล้ว (คุณ) ต้องปรับอะไร?
เทคนิคการเลิกบุหรี่ ต้องมีแรงจูงใจ
แนวทางการให้วัคซีนโควิด โดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
NCD โรคพฤติกรรม "เสี่ยงตาย แต่ป้องกันได้"
ลดเค็มง่าย ๆ ด้วยการหยุดพฤติกรรมทานเค็มกันครับ แค่ 6 วิธีง่าย ๆ ก็มีสุขภาพที่ดีไกลโรคร้ายได้ครับ
8 ข้อควรปฏิบัติในการดูแลเท้า
ติดตามผลงาน KPI สัปดาห์ที่ 3